Social Icons

TwitterFacebookGoogle PlusLinkedInRSS FeedEmail

14 กันยายน 2556

อินทผลัม : คุณค่าที่คุณคู่ควร

อินทผลัม (อ่านว่า อินทะผะลำ) เป็นชื่อปาล์มชนิด Phoenix dactylifera Linn ในวงศ์ Plamae ผลกินได้ ภาษาปากมักเรียกว่า อินทผาลัม ในภาษาอาหรับ 
เรียกว่า อันนัคลุ้ (اَلنَّخْلُ ) หรือ อันนะคีลฺ (اَلنَّخِيْلُ ) 

เป็นไม้ยืนต้นชอบขึ้นในเขตร้อน มีลำต้นตั้งตรงและยาว
มีผลออกเป็นทะลาย ผลของมันมีรสชาติอร่อย ใช้ทำแยมและบางชนิดใช้หมัก 
เรียกว่า นะบีซฺ อัลบะละฮฺ (نَبِيْذُاَلْبَلَحِ ) 

นักภาษาศาสตร์บอกว่า :
เหตุที่เรียกอินทผลัมว่า อันนะคีล เพราะมันมีรากศัพท์มาจากคำว่า
 นัคลฺ (نَخْلٌ ) ซึ่งหมายถึง คัดเลือก กลั่นกรอง เพราะอินทผลัมจัดเป็นพืชยืนต้นที่มีเกียรติที่สุดในประดาพืชยืนต้นด้วยกัน 



ในคัมภีร์อัลกุรอาน ได้กล่าวถึงเรื่องของอินทผลัมเอาไว้หลายแห่งและหลายรูปคำ กล่าวคือ ใช้คำว่า “อันนัคลุ้” (اَلنَّخْلُ ) 10 แห่ง และใช้คำว่า “นัคลัน”(نَخْلاً ) 1 แห่งในบทอะบะสะ อายะฮฺที่ 29, และใช้คำว่า “อันนัคละฮฺ” (اَلنَّخْلَةُ ) 2 แห่งคือในบทมัรยัม อายะฮฺที่ 23 และ 25, และใช้คำว่า “นะคีล” (نَخِيْل ) 7 แห่งด้วยกัน รวม 20 แห่ง 

อินทผลัมมีหลายสายพันธุ์และผลอินทผลัมก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น อัลบะละฮฺ (اَلْبَلَحُ ) ซึ่งเป็นผลอินทผลัมช่วงก่อนสุก เมื่อเริ่มเข้าสีเรียกว่า อัลบุสรุ้ (اَلْبُسْرُ ) พอเริ่มสุกเรียกว่า อัรรุฏ่อบุ้ (الرُّطَبُ ) ส่วนอินทผลัมแห้งอย่างที่วางขายทั่วไปนั้นเรียกว่า ตัมรฺ (تَمْرٌ ) ส่วนหนึ่งจากสายพันธุ์ของอินทผลัม คือซุกกะรีย์ (سُكَّرِي ) และอัจญ์วะฮฺ (عَجْوَة ) เป็นต้น (1)




อัจวะฮฺ 
(عَجْوَةٌ ) หมายถึง อินทผลัมชนิดหนึ่ง ที่ดีที่สุดของเมืองมะดีนะฮฺ
มีรสชาติอร่อย ไม่หวานมาก มีประโยชน์ต่อร่างกายและเป็นยารักษาโรคได้ 

รายงานจากท่านซะอฺด บินอะบีวักกอส รอฎอยัลลอฮุอันฮุ ว่าแท้จริง ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า 
“ผู้ใดรับประทานอินทผลัมอัจวะฮฺ 7 เม็ดในยามเช้า พิษต่างๆและไสยศาสตร์ไม่สามารถทำอันตรายแก่เขาได้ในวันนั้น”
บันทึกโดยบุคอรี 10/203 บทว่าด้วยการแพทย์
มุสลิม 2047 บทว่าด้วยความประเสริฐของอินทผลัมมะดีนะฮฺ 


รายงานจากท่าน อบีสะอีด ว่า ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า 
“อินทผลัมอัจวะฮฺ นั้นมาจากสวนสวรรค์ และมันเป็นยาบำบัดพิษต่างๆ” 
บันทึกโดย อันนะซาอี และอิบนุมาญะฮฺ 


อัจวะฮฺนั้น สามารถรักษาโรคได้ดังนี้ 
1. ทำให้ร่างกายแข็งแรง พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ ถ้ารับประทานประจำ
2. ป้องกันไสยศาสตร์ โดยรับประทานวันละ 7 เม็ด
3. รักษาพิษต่างๆ โดยรับประทานวันละ 7 เม็ด


คุณค่าที่ได้รับจากอัจวะฮฺ 
ท่านนบีมุฮัมมัด
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม รับประทานอัจวะฮฺทุกวัน วันละ 7 เม็ด
และท่านยืนยันว่า มันป้องกันไสยศาสตร์และพิษต่างๆได้
ดวยการอนุมัติของอัลลอฮฺ ที่มีต่อประชาชาติของท่าน นบีมุฮัมมัด
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม 




อินทผลัมสด
คือ อินทผลัมทุกชนิด ผลของมันครึ่งดิบครึ่งสุก รสชาติของมัน หวานปนฝาด
แต่อร่อยมาก ปัจจุบัน มันถูกนำมาแช่ตู้เย็นไว้ เพื่อจะได้มีทานทั้งปี
ถึงแม้จะไม่ใช่ฤดูกาลของมันก็ตาม 

อัลลอฮฺทรงตัสกับมัรยัมว่า
“และเธอ(มัรฺยัม)จงเขย่าต้นอินทผลัม ให้มันเอนมาทางตัวเธอ มันจะหล่นลงมาที่ตัวเธอเป็นอินทผลัมที่สดและสุกน่ากิน”
 (อัลกุรอาน ซูเราะฮฺ มัรยัม อายะฮฺที่ 25)

อนัสกล่าวว่า 
“ท่านร่อซูล
ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยละศีลอดด้วยอินทผลัมสด 2-3 เม็ด
ก่อนที่ท่านจะทำการละหมาด ดังนั้นถ้าไม่มีอินทผลัมสด
ท่านก็รับประทานอินทผลัมแห้ง 2-3 ผล ถ้าไม่มีอินทผลัมแห้งท่านจะดื่มน้ำ
2-3 อึกแทน ” 


อินทผลัมสด มีประโยชน์(สรรพคุณ)ดังนี้
1. ทำให้กระเพาะอาหารแข็งแรง 
2. ทำให้ร่างกายสมบูรณ์
3. เพิ่มสมรรภาพทางเพศ
4. ทำให้เลือดลมดี 
5. ทำให้ฟันแข็งแรง


คุณค่าที่ได้รับจากอินทผลัมสด
ท่านร่อซูลจะละศีลอดด้วยกับอินทผลัมสด
โดยท่านให้เหตุผลว่า
การถือศีลอดนั้นทำให้กระเพาะอาหารปราศจากอาหารเมื่อเรากินทผลัมสดเข้าไป
จะทำให้ความหวานของมันไปหล่อเลี้ยงตับ 
และอวัยวะต่างๆของร่างกายให้กลับมาชุ่มชื่นขึ้น และตามด้วยอาหารต่างๆ
ที่ร่างกายต้องการ นับเป็นความเมตตาของอัลลอฮฺ และวงการแพทย์วินัจฉัยว่า
อินทผลัมทุกชนิดมีโปตัสเซียมสูงมาก และมีประโยชน์ต่อร่างกาย (2)


อ้างอิง 
- (1) พันธุ์ไม้และสมุนไพรในอัลกุรอาน : อินทผาลัม (اَلنَّخْلُ ) , (اَلنَّخِيْلُ )โดย...อาลี เสือสมิง
- (2) จากหนังสือ “ความมหัสจรรย์ของสมุนไพรตามแนวทางการแพทย์ของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ” โดยอาจารย์มุสตอฟา มานะ 
หน้า 54-58 


credit : http://www.annisaa.com/forum/index.php?topic=746.msg3709;topicseen

PHOS CALANDAR



ข่าวรายวัน