Social Icons

TwitterFacebookGoogle PlusLinkedInRSS FeedEmail

16 กันยายน 2556

อิบนิ ซีนา : บิดาการแพทย์อิสลาม

أبو علي الحسين بن عبد الله بن الحسن بن علي بن سينا
อาบู อาลี อัลหุเซน อิบนุ อับดุลลอฮฺ อิบนุ อัลหะซัน อิบนุ ซีนา
Abu Ali al- Husayn ibn Abd Allah ibn al-Husayn ibn Sina
(ฮ.ศ.370-428 : ค.ศ.980-1037)
ชาวตะวันตกรู้จักในชื่อ อเวศซินา (Avicenna)

ถือกำเนิดในเมือง อัฟชินะฮฺ ใกล้กับตำบล ค็อรมีชฺ ในเมืองบุคอรอ (อุซเบกิสถาน) และเสียชีวิตในเมือง ฮะมะซาน เขามีชีวิตอยู่ในระหว่างปีฮ.ศ.371-428 (ค.ศ.980-1036) อยู่ร่วมสมัยเดียวกับ อบู อัรรอยฮาน อัลบีรูนีย์ และอิบนุ อัลฮัยซัม บิดาของอิบนุซีนามาจากเมือง บะลัค (บักเตรีย) ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางทางการปกครองของแคว้น คุรอซาน ส่วนมารดาของเขามาจากเมืองบุคอรอ (อุซเบกิสถาน)

15 กันยายน 2556

ทำไมมุสลิมต้อง "มาโซะยาวี" ?

บทความโดย บรรจง  บินกาซัน

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะพิเศษหรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในคำว่า “เข้าสุหนัต” หรือที่ศัพท์ภาษามลายูท้องถิ่นใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของเราเรียกว่า “มาโซะยาวี” นั้นเป็นกระบวนการผ่าตัดในทางด้านการแพทย์อย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันมายาวนานแล้วเพราะมันเป็นที่ปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นพิธีกรรมทางศาสนาอย่างหนึ่งตั้งแต่สมัยโบราณ ถึงแม้ที่มาของมันจะไม่เป็นที่รู้กัน แต่หลักฐานเก่าแก่ที่สุดของการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายสามารถย้อนหลังไปได้ถึงสมัยอียิปต์ประมาณ 2,300 ปีก่อนคริสตกาล เดิมทีฟาโรห์ได้ใช้การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเพื่อเป็นเครื่องหมายของพวกทาส เมื่อพวกโรมันเข้ามายึดครองอียิปต์เมื่อ 30 ปีก่อนคริสตกาล การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศให้แก่เด็กหนุ่มก็แพร่ไปทั่วโลก หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มันก็เป็นที่ปฏิบัติกันแทบจะเป็นของสากลในตะวันตก 

อย่างไรก็ตาม ในอเมริกาเหนือปัจจุบัน ประมาณกันว่า 85% ของเด็กเกิดใหม่ได้ถูกขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ในยุโรปมีแค่เพียง 10% แต่ในเอเซียและอาฟริกามีแค่เพียง 5% เท่านั้น ส่วนในหมู่ชนที่มิใช่ยิวของยุโรป สแกนดิเนเวียและอเมริกาใต้นั้นมีการปฏิบัติน้อยมาก ทีนี้ขอให้เรามาดูข้อเท็จจริงเกี่ยวกับขลิบหนังปลายอวัยวะเพศและประโยชน์ทางด้านการแพทย์ของมันดูบ้าง

แมลงวัน : กับการแพทย์ในอิสลาม

ท่านศาสดามูฮัมมัด ได้กล่าวว่า “เมื่อมีแมลงวันได้ตกใส่ภาชนะของพวกท่านคนใดคนหนึ่ง ให้เขากดมันให้จมไปทั้งตัว หลังจากนั้นให้เอาทิ้งไปเพราะปีกข้างหนึ่งจากสองปีกของมันนั้นเป็นยาและปีกอีกข้างหนึ่งของมันเป็นโรค” รายงานโดยท่านบุคอรี นะซาอี และท่านอบีดาวูด
               
หะดีษนี้นับเป็นหะดีษที่รู้จักกันแพร่หลายมากที่สุด หะดีษหนึ่งในหมู่ชนมุสลิมทำให้เขาได้รู้ว่าแมลงวันนั้นเป็นสัตว์ที่ต้องระวังเพราะมันมีเชื้อโรคหรือสามารถนำโรคมาให้เราได้แต่ในขณะเดียวกันเขาก็ได้รู้ด้วยว่าภายในแมลงวันตัวเดียวกันที่นำโรคมาให้มนุษย์นั้นกลับมียาที่จะรักษาโรคนั้นๆรวมอยู่ด้วย
               

ประวัติ : จักษุแพทย์มุสลิม


ศาสตราจารย์ ยูเลียส เฮียชแบร์ก (Professor Julius Hirschberg) จักษุแพทย์ชื่อดังของเยอรมนี ได้บรรยายเรื่อง ‘จักษุแพทย์อาหรับ’ ที่สมาคมแพทย์อเมริกัน รัฐคาลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 11-14 กรกฎาคม 1905 เขาเริ่มต้นการบรรยายว่า:

“ผมขอเชื้อเชิญทุกท่าน...เดินทางกลับไปในอดีตเมื่อพันปีก่อน เพื่อพิจารณาถึงประวัติศาสตร์อันน่าทึ่งของวงการจักษุวิทยาโลกอาหรับ ซึ่งผมได้ศึกษาตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เรามีคำถามสองข้อที่จะต้องมาถกกัน: ข้อแรกคือ ในการศึกษาด้านจักษุวิทยาของจักษุแพทย์อาหรับ พวกเขาหาข้อมูลมาจากไหน? และข้อที่สอง นักวิชาการอาหรับมีบทบาทในการพัฒนาด้านจักษุวิทยาอย่างไร? และหนึ่งในงานคลาสสิกด้านจักษุวิทยาของชาวอาหรับก็คือตำราที่เขียนขึ้นมาโดย อาลี อิบนุ อีซา (ค.ศ.1000) ชื่อ จดหมายเหตุจักษุวิทยา (Memorial of Ophthalmology) ซึ่งส่วนหนึ่งเขาได้รวบรวมข้อมูลมาจากตำราของกาเลน (Galen ค.ศ.129-200) ปราชญ์ชาวกรีก ชื่อ ตำราด้านตา 10 ข้อ (The Ten Treatises of the Eye) และอีกส่วนหนึ่งอาลีได้เขียนเพิ่มเติมจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง”

14 กันยายน 2556

ขิง : เครื่องดื่มของชาวสวรรค์

ขิง Zingiber officinale Rosc. Zingiberaceae 
ชื่อสามัญ GINGER 

زَنْجَبِيْلٌ

ขิง ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zingiber officinale Roscoe ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้ามีกลิ่น รสเผ็ด ใช้ประกอบอาหารและทำยาได้ ขิงแกลงหรือขิงแครงก็เรียก ชาวอาหรับเรียก “ขิง” ว่า ซันญะบีล (زَنْجَبِيْل ) เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาเปอร์เซีย มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย

ในคัมภีร์อัลกุรอาน ระบุคำว่า ซันญะบีล (زَنْجَبِيْل )
เอาไว้ 1 แห่ง ในบทอัดดะฮฺร์ อายะฮฺที่ 17 ซึ่งมีใจความว่า

“ชาวสวรรค์จะถูกเสริฟน้ำด้วยภาชนะเครื่องดื่มที่ปนหรือเจือขิง"



อินทผลัม : คุณค่าที่คุณคู่ควร

อินทผลัม (อ่านว่า อินทะผะลำ) เป็นชื่อปาล์มชนิด Phoenix dactylifera Linn ในวงศ์ Plamae ผลกินได้ ภาษาปากมักเรียกว่า อินทผาลัม ในภาษาอาหรับ 
เรียกว่า อันนัคลุ้ (اَلنَّخْلُ ) หรือ อันนะคีลฺ (اَلنَّخِيْلُ ) 

เป็นไม้ยืนต้นชอบขึ้นในเขตร้อน มีลำต้นตั้งตรงและยาว
มีผลออกเป็นทะลาย ผลของมันมีรสชาติอร่อย ใช้ทำแยมและบางชนิดใช้หมัก 
เรียกว่า นะบีซฺ อัลบะละฮฺ (نَبِيْذُاَلْبَلَحِ ) 

นักภาษาศาสตร์บอกว่า :
เหตุที่เรียกอินทผลัมว่า อันนะคีล เพราะมันมีรากศัพท์มาจากคำว่า
 นัคลฺ (نَخْلٌ ) ซึ่งหมายถึง คัดเลือก กลั่นกรอง เพราะอินทผลัมจัดเป็นพืชยืนต้นที่มีเกียรติที่สุดในประดาพืชยืนต้นด้วยกัน 


ทับทิม : ผลไม้ในสวนสวรรค์

ทับทิม
Punica granatum Linn. Punicaceae , رُمّانٌ
ชื่อสามัญ POMEGRANATE 

 وَجَنَّاتٍ مِّنْ أَعْنَابٍ وَالزَّيْتُونَ وَالرُّمَّانَ مُشْتَبِهًا وَغَيْرَ مُتَشَابِهٍ
"...และทรงให้ออกมาด้วยน้ำนั้นอีก ซึ่งสวนองุ่นและซัยตูน และทับทิม โดยมีสภาพคล้ายกันและไม่คล้ายกัน" (อัลอันอาม 99)

فِيهِمَا فَاكِهَةٌ وَنَخْلٌ وَرُمَّانٌ
"ในสวนสวรรค์ทั้งสองแห่งนั้นมีผลไม้และอินทผลัม และผลทับทิม" (อัรเราะหฺมาน 68)

กระเทียม : หาไว้ จะได้ไม่ไร้เทียมทาน

     กระเทียมนั้นถูกนำมาประกอบอาหารหลายชนิดด้วยกัน รสชาติของมันเผ็ดร้อนและมีกลิ่นฉุน เป็นที่รู้จักกันมาถึง 4,500 ปีมาแล้ว   


ท่านดาวูด อัลอันฏอกียฺ
         กล่าวว่า: กระเทียมนั้นสามารถนำมารักษาโรคได้มากกว่าสี่สิบโรค และสามารถลดโคเลสเตอรอลนเส้นเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเส้นเลือดตีบตัน และโรคหัวใจ 

         ท่านอิบนิ ซีนาอฺ กล่าวว่า: กระเทียมนั้นมีประโยชน์มากมาย สามารถรักษาโรคต่างๆได้ เช่นผิวหนัง ขี้เรื้อน ตาแดง โรมาติซัม เก๋าต์ อาการไอกรน และขับเสมหะ กระเทียมนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการโดยมีโปรตีน 49 % น้ำมัน 25 % 
 

8 กันยายน 2556

ฮาลาล คืออะไร ทำไมต้องฮาลาล ?

     คำว่า “ฮาลาล” เป็นคำภาษาอาหรับมีความหมายทั่วไปว่า อนุมัติ เมื่อนำมาใช้ในทางศาสนา จะมีความหมายาว่า สิ่งที่ศาสนาอนุมัติ (เช่นอนุมัติให้กิน อนุมัติให้ดื่ม อนุมัติให้ทำ อนุมัติให้ใช้สอย เป็นต้น )
     คำว่า “ฮาลาล” เป็นคำภาษาอาหรับมีความหมายทั่วไปว่า อนุมัติ เมื่อนำมาใช้ในทางศาสนา จะมีความหมายาว่า สิ่งที่ศาสนาอนุมัติ (เช่นอนุมัติให้กิน อนุมัติให้ดื่ม อนุมัติให้ทำ อนุมัติให้ใช้สอย เป็นต้น )
      “ฮาลาล” เป็นคำที่มีความหมายตรงข้ามกับคำว่า “ฮารอม” ที่มีความหมายทั่วไปว่า ห้าม และเมื่อนำมาใช้ในทางศาสนาจะมีความหมายว่า สิ่งที่ศาสนาห้าม

"ดัดฟัน" ได้หรือไม่ ?

การดัดฟัน เป็นประเด็นร่วมสมัย ซึ่งอิมามชาฟิอีย์และนักปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์ไม่ได้กล่าวระบุฮุกุ่มเจาะจงเอาไว้ แต่ประเด็นที่ได้กล่าวเอาไว้คือเรื่องของการถูตัดฟันและการถ่างช่องระหว่างฟัน ซึ่งเป็นสิ่งที่หะรอม โดยความเห็นพร้องจากบรรดานักปราชญ์มัซฮับทั้งสี่ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานมาและท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ห้ามไว้

1 กันยายน 2556

การบริโภคทรัพย์สินที่ต้องห้าม

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

การบริโภคทรัพย์สินที่ต้องห้าม
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ การสรรเสริญและความสันติจงประสบแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ขอปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺพระองค์เดียวเท่านั้นโดยปราศจากการตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์ และขอปฏิญานตนว่ามุหัมหมัดคือบ่าวและศาสนทูตของอัลลอฮฺ

40 HADIS BULAN RAMADHAN

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
40 HADIS BULAN RAMADHAN



คลิกที่นี้ เพื่อติดตาม : https://www.facebook.com/media/set/?set=a.549403545123223.1073741830.319314288132151&type=3

PHOS CALANDAR



ข่าวรายวัน