Social Icons

TwitterFacebookGoogle PlusLinkedInRSS FeedEmail

21 มีนาคม 2555

ระเบียบข้อบังคับกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม



ระเบียบข้อบังคับกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม

หมวดที่ ๑
บททั่วไป

ข้อที่ ๑ ข้อบังคับนี้ เรียกว่า ข้อบังคับกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม
ข้อที่ ๒ ข้อบังคับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศใช้ข้อบังคับฉบับนี้
ข้อที่ ๓ นับจากวันที่ประกาศใช้ข้อบังคับฉบับนี้เป็นต้นไปให้ยกเลิกระเบียบและข้อตกลงใดๆ ที่ร่างไว้เป็น
แนวทางปฏิบัติต่อกันวันก่อนหน้าใช้ข้อบังคับนี้
ข้อที่ ๔ องค์กรนี้มีชื่อว่า กลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม เรียกโดยชื่อย่อว่า นสส.” และชื่อองค์กร
ภาษาอังกฤษว่า “Public Health Officer of Social welfare” เรียกโดยชื่อย่อว่า“PHOS”
ข้อที่ ๕ สำนักงานใหญ่ของกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม ให้คณะกรรมการบริหารเป็นผู้กำหนดสถานที่ตั้ง ทั้งนี้
ให้คำนึงถึงความเหมาะสมในแต่ละปี จนกว่าจะมีสำนักงานใหญ่ถาวร
ข้อที่ ๖ ในข้อบังคับนี้
                 ๖.๑  ข้อบังคับ หมายถึง ข้อบังคับกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม
                 ๖.๒  นสส. หมายถึง กลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม
๖.๓  กรรมการบริหาร หมายถึง คณะกรรมการบริหารกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคมเรียกโดยชื่อ 
       ย่อว่า คกบ.
 ๖.๔  ที่ประชุม หมายถึง การประชุมคณะกรรมการบริหารกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม
 ๖.๕  ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี หมายถึง การประชุมใหญ่สามัญประจำปีกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อ
        สังคม”
ข้อที่ ๗ วัตถุประสงค์
 ๗.๑  เพื่อสร้างเครือข่ายนักสาธารณสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้
 ๗.๒  เพื่อสำรวจปัญหาชุมชน และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันควบคู่การสร้างระบบสุขภาพให้มี
        ความเข้มแข็งและยั่งยืน
 ๗.๓  เพื่อบำเพ็ญสาธารณประโยชน์แก่สังคมในด้านสุขภาพ
ข้อที่ ๘ นโยบาย/พันธกิจ
 ๘.๑  ่ ๘ นโยบาย/ง ""นแต่ละปี หรืเพื่อสังคม ให้คณะกรรมการบริหารเป็นผู้กำหนดสถานที่ตั้ง ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเหมาะสมในแต่ละปี หรืเผยแพร่และส่งเสริมการนำองค์ความรู้ด้านสุขภาพแก่สังคม
 ๘.๒  ประสานความร่วมมือกับองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุข
 ๘.๓  ส่งเสริมและผลักดันให้สังคมมีมาตรฐานด้านสุขภาพให้สูงขึ้น
 ๘.๔  สร้างและพัฒนางานองค์ความรู้วิชาการด้านสุขภาพ
 ๘.๕  ดำเนินการแก้ปัญหาด้านสุขภาพร่วมกับชุมชน


หมวดที่ ๒
สมาชิกและสมาชิกภาพ

ข้อที่ ๙  สมาชิก
                 ๙.๑  สมาชิก คือ หน่วยงาน กลุ่มบุคคล หรือบุคคลที่ยื่นความจำนงต่อคณะกรรมการบริหารหรือที่
        ประชุมใหญ่
                 ๙.๒  คุณลักษณะสำคัญของการเป็นสมาชิก คือ ผู้สนใจ อาสาสมัคร จิตสาธารณะ และเสียสละ
                 ๙.๓  ประเภทของสมาชิก แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๙.๓.๑ สมาชิกสามัญ คือ สมาชิกที่เป็นคณะกรรมการในโครงสร้างคณะกรรมการบริหาร
๙.๓.๒ สมาชิกวิสามัญ คือ สมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆขององค์กร ยกเว้น คณะกรรมการ
         บริหาร
ข้อที่ ๑๐ การสมัครเป็นสมาชิก
 ๑๐.๑ ผู้ประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกสามัญหรือวิสามัญ จะต้องกรอกแบบฟอร์มการสมัครสมาชิกที่
         องค์กรฯกำหนดไว้ และชำระค่าลงทะเบียนแรกเข้า พร้อมค่าบำรุงสมาชิกรายปีตามกำหนด
         ขององค์กร
ข้อที่ ๑๑ สิทธิของสมาชิก
                 ๑๑.๑ มีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นและสามรถลงเสียงในมติที่ประชุม
 ๑๑.๒ มีสิทธิในการเลือกตั้งและรับการเลือกเป็นอนุกรรมการขององค์กร
 ๑๑.๓ มีสิทธิในการรับสวัสดิการที่องค์กรควรจะมีให้
 ๑๑.๔ มีสิทธิในการใช้โสตทัศนูปกรณ์และสถานที่ขององค์กร
 ๑๑.๕ สามารถนำไปใช้ตราสัญลักษณ์ในทางที่ถูกต้องเหมาะสม
 ๑๑.๖ มีสิทธิในการดำเนินกิจกรรมภายใต้เงื่อนไขของกิจกรรมนั้น
 ๑๑.๗ มีสิทธิในการรับทราบข้อมูลข่าวสาร ผลการดำเนินงานขององค์กร
 ๑๑.๘ มีสิทธิที่จะไม่เข้าร่วมกิจกรรมในกรณีที่มีความจำเป็น โดยแจ้งประธานหรือคณะกรรมการให้
         ทราบล่วงหน้า
ข้อที่ ๑๒ หน้าที่ของสมาชิก
                 ๑๒.๑ ปฏิบัติตามข้อบังคับของ นสส. และมติที่ประชุม
                 ๑๒.๒ ต้องเข้าร่วมประชุมประจำปี
                 ๑๒.๓ สามารถแนะนำองค์กรให้คนภายนอกรู้จัก
                 ๑๒.๔ ประพฤติตนให้เหมาะสมและไม่สร้างความเสื่อมเสียสู่องค์กร
                 ๑๒.๕ ให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการเข้าร่วมประชุม
                 ๑๒.๖ เผยแพร่และส่งเสริมการนำองค์ความรู้ด้านสาธารณสุข
                 ๑๒.๗ พัฒนาองค์ความรู้วิชาการด้านสุขภาพของตนเองอยู่เสมอ
                 ๑๒.๘ รับรู้ รับทราบปัญหาชุมชน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับชุมชน
                 ๑๒.๙ ชำระค่าบำรุงสมาชิกอย่างน้อยปีละ ๑๐๐ บาท
ข้อที่ ๑๓ ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาชิกรายปีสำหรับสมาชิกสามัญและสมาชิกวิสามัญ
                 ๑๓.๑ ค่าลงทะเบียนสมาชิกแรกเข้า คนละ ๕๐ บาท
 ๑๓.๒ ค่าบำรุงสมาชิกรายปี ปีละ ๑๐๐ บาท
ข้อที่ ๑๔ การสิ้นสุดสมาชิกภาพ
 ๑๔.๑ ตาย
 ๑๔.๒ ลาออก
 ๑๔.๓ เสียงข้างมากจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารให้ออก โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้
                ๑๔.๓.๑ กระทำให้กลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม เสื่อมเสียชื่อเสียง
                ๑๔.๓.๒ ฝ่าฝืนมติของคณะกรรมการบริหาร
                ๑๔.๓.๓ ละเมิดข้อบังคับของกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม


หมวดที่ ๓
กรรมการบริหาร

ข้อที่ ๑๕ กรรมการบริหารได้จากที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี โดยมีการเสนอชื่อกรรมการบริหารจากการ
  รับรองของสมาชิกอย่างน้อย ๓ คน
ข้อที่ ๑๖ คณะกรรมการบริหารประกอบด้วย
                  ๑๖.๑ ประธาน ๑ คน
                  ๑๖.๒ รองประธานอย่างน้อย ๑ คน
                  ๑๖.๓ คณะกรรมการบริหารฝ่ายวิชาการ ๑ คน
                  ๑๖.๔ คณะกรรมการบริหารฝ่ายมวลชน ๑ คน
                  ๑๖.๕ คณะกรรมการบริหารฝ่ายการเงิน ๑ คน
  ๑๖.๖ คณะกรรมการบริหารฝ่ายประชาสัมพันธ์ ๑ คน
  ๑๖.๗ คณะกรรมการบริหารฝ่ายพัฒนาบุคลากร ๑ คน
  ๑๖.๘ ตำแหน่งอื่นๆตามที่ประชุมใหญ่เห็นควร
ข้อที่ ๑๗ ประธาน มีหน้าที่
                  ๑๗.๑ ประสานงานกับองค์กรสมาชิกกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม และองค์กรอื่นๆ
  ๑๗.๒ เป็นผู้รับผิดชอบสำนักงาน และงานธุรการทั่วไปของกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม
  ๑๗.๓ จัดประชุมคณะกรรมการบริหาร
  ๑๗.๔ เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร
                  ๑๗.๕ รายงานการทำงานของคณะกรรมการบริหารต่อที่ประชุม
ข้อที่ ๑๘ รองประธาน มีหน้าที่
  ๑๘.๑ ทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจากประธาน
  ๑๘.๒ รับผิดชอบงานแทนประธานในกรณีประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ข้อที่ ๑๙ คณะกรรมการบริหารฝ่ายวิชาการ มีหน้าที่
  ๑๙.๑ เก็บรวบรวมข้อมูลและเอกสารการเคลื่อนไหวด้านสุขภาพ
  ๑๙.๒ จัดพิมพ์ข้อมูลที่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม
  ๑๙.๓ จัดทำทะเบียนข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม


ข้อที่ ๒๐ คณะกรรมการบริหารฝ่ายประชามวลชน มีหน้าที่
  ๒๐.๑ สร้างเครือข่ายการดำเนินงานของกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม
  ๒๐.๑ รับผิดชอบงานอื่นๆตามที่คณะกรรมการเห็นควร
ข้อที่ ๒๑ คณะกรรมการบริหารฝ่ายการเงิน มีหน้าที่
  ๒๑.๑ จัดหาและบริการด้านการเงิน งบประมาณเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มนัก
          สาธารณสุขเพื่อสังคม
  ๒๑.๒ รับผิดชอบงานอื่นๆตามที่คณะกรรมการเห็นควร
ข้อที่ ๒๒ คณะกรรมการบริหารฝ่ายประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่
  ๒๒.๑ เผยเอกสารข้อมูลของกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม
  ๒๒.๒ รับผิดชอบงานอื่นๆตามที่คณะกรรมการเห็นควร
ข้อที่ ๒๓ คณะกรรมการบริหารฝ่ายพัฒนาบุคลากร มีหน้าที่
  ๒๓.๑ วิเคราะห์ทีมงาน การดำเนินงานขององค์กรและส่งเสริมการพัฒนาขององค์กร
  ๒๓.๒ รับผิดชอบงานอื่นๆตามที่คณะกรรมการเห็นควร
ข้อที่ ๒๔ วาระของคณะกรรมการบริหารชุดเก่าสิ้นสุดลงเมื่อ
  ๒๔.๑ ครบวาระคราวละ ๒ ปี
  ๒๔.๒ หลังการเลือกตั้ง คณะกรรมการชุดใหม่ ๑๕ วัน
 

หมวดที่ ๔
ที่ปรึกษากลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม

ข้อที่ ๒๕ ที่ปรึกษากลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคมได้จากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกลุ่ม
   นักสาธารณสุขเพื่อสังคมรับรองอย่างน้อย ๓ คน
   ๒๕.๑ ที่ปรึกษาทีหน้าที่
  ๒๕.๑.๑ ให้คำปรึกษาแก่กลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม
  ๒๕.๑.๒ ทำหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการบริหารเห็นควร
ข้อที่ ๒๖ วาระของที่ปรึกษากลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม สิ้นสุดลงเมื่อ
  ๒๖.๑ ตาย
  ๒๖.๒ ลาออก
  ๒๖.๓ สิ้นสุดตามวาระของคณะกรรมการบริหาร
                  ๒๖.๔ ถอดถอนโดยที่คณะกรรมการบริหาร




หมวดที่ ๕
ที่ประชุม

ข้อที่ ๒๗ การประชุมคณะกรรมการบริหาร
  ๒๗.๑ ให้ประธานกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคมจัดให้มีการประชุมและเป็นประธานในที่ประชุม
                  ๒๗.๒ ให้มีการประชุมสามัญอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง
                  ๒๗.๓ การประชุมคณะกรรมการบริหาร ต้องมีกรรมการบริหารมาประชุมไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ จึง
                                ครบองค์ประชุม
ข้อที่ ๒๘ ในกรณีไม่ครบองค์ประชุม ให้จัดการประชุมใหม่ภายใน ๗ วัน และในวันประชุมใหม่ ให้ถือว่าจำนวน
  องค์ประชุมที่มาประชุมครั้งหลังสุดเป็นองค์ประชุมได้         


หมวดที่ ๖
การเงิน

ข้อที่ ๒๙ เงินทุนในการดำเนินงานของกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม ได้มาโดย
                  ๒๙.๑ ค่าบำรุงของกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม
                  ๒๙.๒ เงินสนับสนุนการทำกิจกรรม/โครงการ จากองค์กรสมาชิกหรือองค์กรอื่นๆ
                  ๒๙.๓ การหาทุนของกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคมที่คณะกรรมการบริหารมีมติให้จัดขึ้น
                  ๒๙.๔ การบริจาคสนับสนุนกิจกรรม/โครงการจากองค์กรอื่นๆ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
บริหาร
ข้อที่ ๓๐ เงินทุนของกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคมให้เก็บรักษาในนามฝ่ายการเงิน หรือคณะกรรมการบริหาร
  และในการเบิกจ่ายแต่ละครั้ง ต้องได้รับการอนุมัติจากกรรมการบริหารอย่างน้อย ๒ คน และ
  คณะกรรมการบริหารฝ่ายการเงินแจ้งรายรับ-รายจ่ายของกลุ่มฯ ต่อที่ประชุมทุกครั้ง


หมวดที่ ๗
การแก้ไขเพิ่มเติม

ข้อที่ ๓๑ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ กระทำได้โดย
                  ๓๑.๑ ความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี
                   ๓๑.๒ ความเห็นชอบของที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร
                   ๓๑.๓ ความเห็นชอบของสมาชิกกลุ่มนักสาธารณสุขเพื่อสังคม



ประกาศ ณ วันที่  ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ บ้านทอนนาอีม นราธิวาส




PHOS CALANDAR



ข่าวรายวัน